Saturday, November 30, 2019
Friday, November 29, 2019
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน - Planets Conjunction
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้ายใบหน้าคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ ดาวศุกร์ และดาวพฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะอยู่ห่างกัน 2 องศา ในระยะท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ด้านล่างระหว่างดาวทั้งสองดวง และห่างกัน 2 องศา
โดยปกติ ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิดขึ้น 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุกๆ 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่างของดาวอีก 2 ดวง และอยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นช่วงเวลาหัวค่ำ หรือเช้ามืด
ที่มาข้อมูล : narit.or.th, th.wikipedia, narit.or.th2, thairath.co.th/lifestyle/woman/530894
Thursday, November 28, 2019
มุมความรู้ภาษาไทย
คำว่า คะ ค่ะ นะคะ เขียนอย่างไรถึงถูกต้องกันแน่
- "คะ" ใช้กับประโยคที่ต้องการแสดงเสียงสูง อาจเป็นประโยคคำถามหรือเรียกด้วยความสุภาพ เช่น ไปไหนกันคะ ทางนี้ใช่ไหมคะ ทานได้ไหมคะ พี่คะมาทางนี้หน่อย เข้าใจไหมคะ ฯลฯ
- "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ทางนี้ค่ะ ไม่ชอบค่ะ ขอทางหน่อยค่ะ เชิญค่ะ รับทราบค่ะ เห็นด้วยค่ะ
- นะคะ ใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน แต่จะดูสุภาพและเป็นทางการกว่า เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ ไม่เข้าใจก็บอกนะคะ ไปแล้วนะคะ
- "ค่ะ" (ออกเสียง ขะ) ใช้กับประโยคที่ต้องการเสียงต่ำ อย่างประโยคบอกเล่า ตอบรับ ตอบคำถาม เช่น สวัสดีค่ะ ขอบคุณค่ะ ทางนี้ค่ะ ไม่ชอบค่ะ ขอทางหน่อยค่ะ เชิญค่ะ รับทราบค่ะ เห็นด้วยค่ะ
- นะคะ ใช้กับประโยคบอกเล่า หรือตอบรับเช่นกัน แต่จะดูสุภาพและเป็นทางการกว่า เช่น ขอบคุณมากนะคะ คิดถึงนะคะ ไม่เข้าใจก็บอกนะคะ ไปแล้วนะคะ
Friday, November 15, 2019
English Corner - มุมความรู้ภาษาอังกฤษ
Library Vocabulary
คำศัพท์
|
คำอ่าน
|
ความหมาย
|
|
สมัคร
|
|
ผู้เขียน ผู้แต่ง
|
||
หนังสือ
|
||
book cart
|
รถเข็นหนังสือ
|
|
ฉากกั้นหนังสือ
|
||
จุลสาร
|
||
ที่คั่นหน้าหนังสือ
|
||
ชั้นวางหนังสือ
|
||
หนอนหนังสือ
|
||
ยืม
|
||
อักษรเบรลล์
|
||
บท
|
||
สารบัญ
|
||
ปก
|
||
พจนานุกรม
|
||
สารานุกรม
|
||
นิทาน
|
||
ห้องสมุด
|
||
บรรณารักษ์
|
||
library card
|
บัตรห้องสมุด
|
|
วรรณคดี
|
||
นิตยสาร
|
||
หนังสือพิมพ์
|
||
นิยาย
|
||
หนังสืออ้างอิง
|
* คลิ๊กที่คำศัพท์เพื่อฟังการออกเสียงและเรียนรู้ตัวอย่างประโยค
Wednesday, November 13, 2019
รอบรู้อาเซียนกับห้องสมุดโรงเรียนตะโหมด
Getting to know ASEAN:อาเซียนคืออะไร
อาเซียนคือการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้ชื่อ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Nations – ASEAN
Image credit : http://www.aseanconsumer.org/
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) ณ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาค โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความมั่นคงทางการเมือง การเจริญเติบโตทางการค้าและทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง การพัฒนาทางสังคมของประเทศสมาชิก เพื่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรกเริ่ม อาเซียนประกอบด้วย 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังยุคสงครามเย็น อาเซียนได้พยายามสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายที่จะขยายจำนวนประเทศสมาชิกให้เป็น 10 ประเทศทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มด้วยการเป็นประเทศสมาชิกของประเทศบรูไนในปี พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) ต่อมาเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ลาวและพม่าในปี พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) และกัมพูชา ปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)
ส่วนประเทศติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์-เลสเต ซึ่งได้รับเอกราชจากอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) นั้นยังไม่ได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน แต่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
อาเซียนนั้นมีสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กร
ส่วนประเทศติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์-เลสเต ซึ่งได้รับเอกราชจากอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) นั้นยังไม่ได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน แต่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย
อาเซียนนั้นมีสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีเลขาธิการอาเซียนเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กร
Photo credit:
Dato Paduka Lim Chok Hoi
ดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
สัญลักษณ์อาเซียนคือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
นับตั้งแต่ก่อตั้งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน องค์กรแห่งนี้มีเลขาธิการมาแล้วทั้งสิ้น 13 ท่าน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปในหมู่ประเทศสมาชิก โดยเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2561 สำนักงานเลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทำพิธีส่งมอบตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน คนที่ 14 ให้แก่นายดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ๊อก ฮอย (Dato Paduka Lim Jock Hoi) สัญชาติบรูไน อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของบรูไน โดยตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนจะมีวาระ 5 ปี และปฏิบัติงานเป็นหลักอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึงความบริสุทธ์
สีเหลือง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
คำขวัญของอาเซียนคือ
" One Vision, One Identity, One Community"
"หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งอัตลักษณ์ หนึ่งประชาคม"
เพลงประจำอาเซียน ชื่อ The ASEAN Way หรือ วิถีแห่งอาเซียน ประพันธ์คำร้อง ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสานโดยชาวไทย
Tuesday, November 12, 2019
Monday, November 11, 2019
เกร็ดความรู้จากห้องสมุดโรงเรียนตะโหมด - วันลอยกระทง
วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ “กระทง” จากวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย
ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน
ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า
“ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย…”
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน” พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า “เรือลอยประทีป” ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
Loy Krathong is one of the most popular festivals in Thailand. It's also known as the Festival of Light. This festival is celebrated nationwide on the full moon night of the 12th Thai lunar month. This year's Loy Krathong Festival is held on November 11th.
Sunday, November 10, 2019
วัตถุประสงค์ของงานห้องสมุดโรงเรียนตะโหมด
วัตถุประสงค์ของงานห้องสมุดโรงเรียนตะโหมด
เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนทุกคน
เพื่อให้นักเรียนรู้จักการค้นคว้าหาความรู้
เพื่อปลูกฝังนักเรียนให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
เพื่อให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
ห้องสมุดโรงเรียนตะโหมดใช้ระบบการยืม-คืนหนังสือ การจัดเก็บ
ข้อมูล โดยระบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นโปรแกรมของ สพม.
12 ผ่านระบบ
obeclib ด้วยคอมพิวเตอร์แทนบัตรรายการ
การเก็บสถิติเข้าใช้บริการ
ของนักเรียนด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในช่วงวันจันทร์-วันศุกร์
ตั้งแต่เวลา 07.30-16.30 น.
ตั้งแต่เวลา 07.30-16.30 น.
Tuesday, November 5, 2019
ห้องสมุดโรงเรียนตะโหมด
ห้องสมุดโรงเรียนตะโหมดจัดตั้งขึ้นในปี
พ.ศ.2526 โดยใช้อาคารหลังเก่าที่มีขนาด 1 ห้องเรียน
เริ่มจากเป็นกระท่อมแล้วค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนังสือได้มาจากการขอรับบริจาค ในปี
พ.ศ.2529 ได้ขยายพื้นที่ห้องสมุดเพิ่มเป็น 2 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2531 ได้ย้ายจากอาคารเรียนหลังเก่า มาอยู่หลังใหม่ ชั้น 2 ขนาด 3 ห้องเรียน หนังสือพิมพ์ วารสารต่างๆ มีเพียงพอสำหรับการศึกษาค้นคว้า
ปี พ.ศ. 2532 ได้ขยายห้องสมุดเป็น 4 ห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้บริการได้อย่างทั่วถึง มีการส่งเสริมกิจกรรมการอ่านในรูปแบบต่างๆ โดยจัดบรรยากาศภายในห้องสมุดที่เอื้อต่อการค้นคว้าและความสนใจของนักเรียน
ปี พ.ศ. 2540 ได้ขยายพื้นที่หน้าห้องสมุดโดยกั้นพื้นที่เป็นสัดส่วนสร้างบรรยากาศให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่น่าสนใจ
ปี พ.ศ. 2547 จัดให้มีห้องสมุดมัลติมีเดีย เพื่อให้นักเรียนได้สืบค้น ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เป็นห้องสมุดภาพและเสียง
ได้รับรางวัลห้องสมุดดีเด่นปีการศึกษา 2534 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
ได้รับรางวัลชนะเลิศการจัดห้องสมุดดีเด่นประเภทโรงเรียนขนาดกลางประจำปี
2544
จากเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง
ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการประกวดห้องสมุดระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ประจำปี
2549
โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน จากเขตพื้นที่การศึกษาพัทลุง
บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนตะโหมดคนปัจจุบัน
นางพรทิพย์ อินทรชุมนุม
Subscribe to:
Posts (Atom)